ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร
- ชื่อวัด: วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร
- ประเภทวัด: พระอารามหลวง
- นิกาย: ธรรมยุต
- พระภิกษุ: 52 รูป
- สามเณร: 240 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 12 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 103 ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50200
- เนื้อที่: 32 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา
ประวัติความเป็นมา
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
วัดเจดีย์หลวงวรวิหารเป็นหนึ่งในวัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร วัดโชติการาม เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ซึ่งเป็นปีที่ได้มีการสร้างพระธาตุเจดีย์หลวงแต่ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ.1928 - พ.ศ.1945 วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ มีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่ วัดเจดีย์หลวงสร้างอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรล้านนา ตั้งอยู่เลขที่ 103 ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ภายในวัดประมาณ 32 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา
ประวัติพระธาตุเจดีย์หลวง
พระธาตุเจดีย์หลวงสร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ซึงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น โดยสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1928 เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแก่พญากือนา พระราชบิดา ซึ่งมีตำนานเล่ามาว่า พญากือนาซึ่งได้สวรรคตไปแล้ว ได้ปรากฏตัวแก่พ่อค้าชาวเชียงใหม่ที่เดินทางไปค้าขายที่พม่า ให้มาบอกว่าแก่พญาแสนเมืองมาผู้เป็นโอรสว่า ให้สร้างเจดีย์ไว้ท่ามกลางเวียง ให้สูงใหญ่พอให้คนที่อยู่ไกล 2000วาสามารถมองเห็นได้ แล้วอุทิศบุญกุศลเหล่านนี้ให้แก่พญากือนา เพื่อให้พญากือนานั้นสามารถไปเกิดในเทวโลกได้ แต่ไม่ทันแล้วเสร็จทรงสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระนางติโลกจุฑาราชเทวี พระมเหสีทรงโปรดให้ดำเนินการต่อ จนแล้วเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน ใช้เวลาสร้าง 5 ปี เมื่อปี พ.ศ.1944 ต่อมาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้มีการบูรณะพระเจดีย์หลวงให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม โดยโปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นนายช่างใหญ่ดำเนินการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์หลวง เมื่อปี พ.ศ.1984 ต่อมาในสมัยพระเมืองแก้ว หรือ พญาแก้ว ใน พ.ศ.2011 - พ.ศ.2097 ได้มีการบูรณะอีกครั้งโดยขยายฐานใหม่ให้ใหญ่ขึ้นและได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกด มาประดิษฐานไว้ที่วัดเจดีย์หลวงแห่งนี้เป็นเวลายาวนานถึง 80ปี ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ได้ประดิษฐานไว้ที่ซุ้นหน้า หรือ ซุ้มทางทิศตะวันออกของพระเจดีย์หลวงเป็นเวลา 79 ปี และในพระวิหารหลวงเป็นเวลา 1 ปี ต่อมาในยุคของพระนางจิรประภา เกิดภายุและแผ่นดินไหวทำให้ยอดของพระธาตุเจดีย์หลวงได้พังทลายลงมา
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 1954
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2516
• วัดพัฒนาตัวอย่าง ไม่ทราบวันเวลา
• วัดพระอารามหลวง ไม่ทราบวันเวลา
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
วัดเจดีย์หลวงวรวิหารเป็นหนึ่งในวัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร วัดโชติการาม เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ซึ่งเป็นปีที่ได้มีการสร้างพระธาตุเจดีย์หลวงแต่ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ.1928 - พ.ศ.1945 วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ มีการบูรณะมาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ที่ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่ วัดเจดีย์หลวงสร้างอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรล้านนา ตั้งอยู่เลขที่ 103 ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ภายในวัดประมาณ 32 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา
ประวัติพระธาตุเจดีย์หลวง
พระธาตุเจดีย์หลวงสร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ซึงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น โดยสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1928 เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแก่พญากือนา พระราชบิดา ซึ่งมีตำนานเล่ามาว่า พญากือนาซึ่งได้สวรรคตไปแล้ว ได้ปรากฏตัวแก่พ่อค้าชาวเชียงใหม่ที่เดินทางไปค้าขายที่พม่า ให้มาบอกว่าแก่พญาแสนเมืองมาผู้เป็นโอรสว่า ให้สร้างเจดีย์ไว้ท่ามกลางเวียง ให้สูงใหญ่พอให้คนที่อยู่ไกล 2000วาสามารถมองเห็นได้ แล้วอุทิศบุญกุศลเหล่านนี้ให้แก่พญากือนา เพื่อให้พญากือนานั้นสามารถไปเกิดในเทวโลกได้ แต่ไม่ทันแล้วเสร็จทรงสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระนางติโลกจุฑาราชเทวี พระมเหสีทรงโปรดให้ดำเนินการต่อ จนแล้วเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน ใช้เวลาสร้าง 5 ปี เมื่อปี พ.ศ.1944 ต่อมาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้มีการบูรณะพระเจดีย์หลวงให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม โดยโปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นนายช่างใหญ่ดำเนินการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์หลวง เมื่อปี พ.ศ.1984 ต่อมาในสมัยพระเมืองแก้ว หรือ พญาแก้ว ใน พ.ศ.2011 - พ.ศ.2097 ได้มีการบูรณะอีกครั้งโดยขยายฐานใหม่ให้ใหญ่ขึ้นและได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกด มาประดิษฐานไว้ที่วัดเจดีย์หลวงแห่งนี้เป็นเวลายาวนานถึง 80ปี ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ได้ประดิษฐานไว้ที่ซุ้นหน้า หรือ ซุ้มทางทิศตะวันออกของพระเจดีย์หลวงเป็นเวลา 79 ปี และในพระวิหารหลวงเป็นเวลา 1 ปี ต่อมาในยุคของพระนางจิรประภา เกิดภายุและแผ่นดินไหวทำให้ยอดของพระธาตุเจดีย์หลวงได้พังทลายลงมา
ข้อมูลเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2555
พระราชเจติยาจารย์ อภโย เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร
พระราชเจติยาจารย์ อภโย
ปัจจุบันอายุ 89 ปี
บวชมาแล้ว 68 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะ ชั้นราช
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสพระอารามหลวง (จล.)วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร และยังดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบล
ประวัติด้านการศึกษาของพระราชเจติยาจารย์ อภโย
พระราชเจติยาจารย์ อภโย เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาเอก / ph.d. จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2471 ถึงปี พ.ศ.2474 |
พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 ถึงปี พ.ศ.2475 |
พระครูนพีสีพิศาลคุณ (ทอง โฆสิโต) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2476 ถึงปี พ.ศ.2476 |
พระพุทธิโศภน (แหวว ธมฺมทินฺโน) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 ถึงปัจจุบัน |
พระญาณดิลก (พิมพ์ ธมฺมธโร) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 ถึงปี พ.ศ.2483 |
พระธรรมดิลก (ขันติ์ ขนฺติโก) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 ถึงปี พ.ศ.2534 |
พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 ถึงปี พ.ศ.2551 |
พระราชเจติยาจารย์ (ชูเกียรติ อภโย) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 ถึงปัจจุบัน |
การจัดการศึกษาภายในวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร
การจัดการศึกษาภายในวัดเจดีย์หลวง วรวิหารนั้น จะประกอบไปด้วย
- จัดการศึกษาแผนกบาลี
- จัดการศึกษาแผนกธรรม
- โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
- สำนักศาสนศึกษา